รู้จับกับ เส้นขน คืออะไร? มีวงจรการเกิดและหน้าที่อย่างไรบ้าง?

วงจรและหน้าที่ของขน

อีกหนึ่งปัญหาที่ทำเอาใครหลายๆ คนต่างกังวลและสงสัยกันอย่างมากมายนั้นก็คือปัญหาของเส้นขนนั่นเอง ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความลับของเส้นขนว่าคืออะไร ช่วยเรื่องอะไรและทำไมเราถึงจะต้องมีเส้นขน?

เส้นขน คืออะไร?

เส้นขน

เส้นขนที่อยู่ตามร่างกายถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งสามารถพบเส้นขนและเส้นผมขึ้นได้ตามรูขุมขนส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแขน ขน คอ หน้าอก เป็นต้น โดยเส้นขนนั้นถูกนับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งในแต่ละคนนั้นจะมีสภาพเส้นขนและปริมาณของเส้นขน สีขนที่ไม่เท่ากัน

เส้นขนเกิดจากอะไร?

เส้นขนเกิดจากอะไร

เกิดมาจากต่อมรากขนที่คอยสร้างและผลิตเส้นขนออกมา โดยต่อมรากขนนั้นจะอยู่ในชั้นผิวกำพร้าชั้นลึกที่ยื่นเข้าไปถึงเนื้อเยื่อใต้หนัง โดยในเส้นขนนั้นประกอบได้ด้วยโปรตีน 65-95% ,ไขมัน 25% และที่เหลือประกอบได้ด้วยน้ำและแร่ธาตุต่างๆ

ส่วนประกอบของเส้นขน มีอะไรบ้าง?

เส้นขนของเรานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้นหลักๆ ดังนี้

  1. ชั้นนอกสุดหรือเกล็ดผม (Outer cuticle)
    เป็นส่วนของเกล็ดผมที่ประกอบไปด้วยเคราตินที่มีการเรียงซ้อนตัวหนาประมาณ 0.8 ไมครอน มีส่วนสำคัญในการช่วยปกป้องรากผมให้มีความแข็งแรง ป้องกันเส้นผมไม่ให้เสียความชุ่มชื้นและกันสิ่งสกปรกเข้าไปทำลายเส้นผม
  2. ส่วนเนื้อขนชั้นนอก (Cortex)
    ชั้นนี้จะมีความหนาประมาณ 60-80 ไมครอน เป็นชั้นที่สามารถพบเม็ดสีเมลานินที่เป็นตัวกำหนดสีเส้นขนตามธรรมชาติได้ ส่วนสำคัญของชั้นนี้คือช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เส้นขน
  3. ส่วนเนื้อขนชั้นใน (Medulla)
    ถือเป็นชั้นที่อยู่ในสุดมีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่เส้นขน โดยจะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเรียงซ้อนกันอยู่

เส้นผมกับเส้นขนต่างกันอย่างไร

จริงแล้วๆ เส้นขนและเส้นผมนั้นมีลักษณะที่เหมือนกันแต่ว่าเส้นขนจะมีลักษณะความยาวที่จำกัด ส่วนเส้นผมจะมีความยาวที่ไม่จำกัด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่ามีแค่เส้นผมเท่านั้นที่สามารถยาวได้เรื่อยๆ ไม่มีกำจัดและนอกจากนั้นในภาษาอังกฤษเองก็มีการใช้คำว่าเส้นขนและผมเป็นคำๆ เดียวกันอย่าง “Hair” นั่นเอง

วงจรของเส้นขน มีกี่ระยะ

วงจรของเส้นขน

เส้นขอเรานั้นจะมีวงจรการเกิดเส้นขนอยู่ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน ดังนี้

  1. Anagen hair (ระยะแรกหรือระยะเจริญเติบโต)
    เป็นระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวมากมายและมีการสร้างเม็ดสีเมลานินที่เป็นตัวกำหนดสีผมสีธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นระยะนี้ยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 6 ระยะซึ่งหลังจากเส้นขนงอกขึ้นแล้วจะมีอายุเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 ปีหากไม่มีสารเคมีมาเป็นตัวทำลาย และระยะนี้จะมีอายุที่สั้นลงเรื่อยๆ หากเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเอง
  2. Catagen Hair (ระยะที่สอง)
    เป็นระยะที่เส้นขนจะเริ่มชะลอการเติบโตลงทำให้การสร้างเม็ดสีเมลานินและการแบ่งตัวของรูขุมขนจะลดลง ทำให้ส่วนรากขนค่อยๆ หดตัวสั้นลง และทำให้สารอาหารต่างๆ ไม่สามารถมาหล่อเลี้ยงเส้นขนได้เหมือนเดิมเส้นขนจึงค่อยๆ หลุดร่วงออกไป ซึ่งระยะนี้จะมีเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
  3. Telogen Hair (ระยะสุดท้ายหรือระยะฟักตัว)
    ถือเป็นระยะสุดท้ายก่อนที่เส้นขนจะค่อยๆ หลุดร่วงออกไป ซึ่งก็จะทำให้ต่อมรากขนกลับมาขยายตัวและกลับสู่วงจรการสร้างเส้นขนใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยระยะนี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 1-3 เดือน

เส้นขนมีทั้งหมดกี่ประเภท

เส้นขนในร่างกายของมนุษย์นั้นสามารถจำแนกออกได้แบบกว้างๆ เป็น 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

เส้นขนมีทั้งหมดกี่ประเภท
  1. ขนอ่อน (LANUGO HAIR)
    เป็นเส้นขนชุดแรกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเป็นทารกในครรภ์ เส้นขนประเภทนี้จะมีลักษณะสีอ่อน เส้นนุ่ม ซึ่งเส้นขนชุดนี้จะค่อยๆ หลุดร่วงออกไปหลังจากคลอดไม่เกิน 2-3 สัปดาห์
  2. ขนเวลลัส (VELLUS HAIR)
    ขนประเภทนี้จะมีลักษณะของเส้นขนที่บาง มีสีอ่อน มีขนาดยาวไม่เกินประมาณ 2 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 30 ไมครอน สามารถพบได้ตามบริเวณใบหน้า และลำตัว
  3. ขนเทอร์มินัล (TERMINAL HAIR)
    ลักษณะของเส้นขนประเภทนี้จะมีความเข้ม เส้นหนา หยาบ และมีความยาวมากกว่า 1 เซนติเมตร ขนลักษณะนี้มักพบได้ที่บริเวณคิ้ว เส้นผม หนวด และเคราเป็นต้น

เส้นขนในร่างกายเรามีขนมีอะไรบ้าง

ขนในร่างกายของเราประกอบได้ด้วยหลายจุด ซึ่งแต่ละจุดก็มีชื่อเรียกและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ·เส้นผม : ช่วยปกป้องหนังศีรษะจากแสงแดด และปกป้องสมองการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ และยังมีส่วนช่วยในเรื่องของความสวยงาม
  • ขนคิ้ว : ช่วยปกป้องและป้องกันสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่ดวงตา และยังช่วยเรื่องของความสวยงาม
  • ขนตา : มีหน้าสำคัญในการช่วยป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ อีกหนึ่งชั้นถัดจากขนคิ้ว และช่วยในเรื่องลดการระเหยของน้ำตาทำให้ดวงตาชุ่มชื้นขึ้น
  • ขนจมูก : ช่วยกันสิ่งสกปรก ฝุ่น และมลภาวะ ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ
  • ขนหน้า : ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด มลภาวะเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกมาเกาะผิวได้โดยตรง
  • ขนแขน : เพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิให้แก่ร่างกาย และปกป้องผิวจากปรสิตต่างๆ ที่จะเข้ามาทำร้ายผิว
  • ขนขา : มีหน้าที่เช่นเดียวกับขนแขนคือการรักษาอุณหภูมิและปกป้องผิวจากปรสิตต่างๆ
  • ขนรักแร้ : ช่วยลดการเสียดสีของผิว ช่วยลดโอกาสการเกิดเหงื่อและป้องกันสิ่งสกปรก เชื้อโรคไม่ให้เกาะผิว
  • ขนอวัยวะเพศ : ช่วยลดการเสียดสี ป้องกันสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นไม่พึ่งประสงค์

หน้าที่ของเส้นขน ช่วยอะไร? ทำไมถึงต้องมีขน

หน้าที่หลักๆ ของเส้นขนที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นมานั้นหลักๆ เลยก็คือการช่วยให้ความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และช่วยลดการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากนั้นยังมีส่วนสำคัญในการช่วยปกป้องการถูกแสงแดดทำร้ายผิวได้ดีด้วย

เส้นขนมีอายุเฉลี่ยประมาณกี่ปี

โดยทั่วไปแล้วเส้นขน 1 เส้นในร่างกายเราจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 ปีแล้วจึงจะค่อยๆ หลุดร่วงออกไป แต่หากมีการถูกกระตุ้นด้วยสารเคมีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสีย้อมขน ความร้อน มลภาวะที่จะเข้าไปทำให้รากขนมีความอ่อนแอขึ้นก็จะทำให้อายุเฉลี่ยของเส้นขนลดลงตามไปด้วย

ไขข้อสงสัยทำไมเส้นขนถึงขึ้นเร็ว

ปัจจัยภายนอกเองก็ถือเป็นตัวการสำคัญในการช่วยกระตุ้นให้เส้นขนงอกและยาวเร็วกว่าปกติ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนั้นก็คือ “ความเครียด” เนื่องจากในช่วงที่เรามีความเครียดร่างกายของเราจะทำการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจนและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่เป็นตัวการสำคัญในการช่วยเร่งการเติบโตของเส้นขนนั่นเอง ดังนั้นหากไม่ต้องการให้เส้นขนยาวไวหรืองอกเร็วควรหลีกเลี่ยงอารมณ์เครียดซะ

ทำไมผู้ชายมีขนเยอะกว่าผู้หญิง

หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่าทำไมเพศชายถึงเส้นขนที่เยอะ หนาและดกกว่าเพศหญิงเนื่องจากในเพศชายมีการสร้างฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเอนโดรเจน (Androgen) ออกมาซึ่งถือเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและเส้นผม เส้นขน กล่องเสียงรวมไปถึงเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของเพศชายอย่างอัณฑะ ต่อมลูกหมากและอสุจิเป็นต้น

วิธีกำจัดเส้นขน มีอะไรบ้าง

จริงอยู่ที่เส้นขนทุกจุดในร่างกายนั้นล้วนมีประโยชน์ในการช่วยปกป้องร่างกาย แต่ก็แน่นอนว่าในยุคสมัยนี้นั้นการที่ไม่มีเส้นขนย่อมเป็นเทรนด์ที่ถือว่ามีความสวยงามมากกว่าดังนี้ หากใครที่ไม่ต้องการขนก็สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. การถอนขน

การใช้อุปกรณ์อย่างแหนบในการดึงถอนเอาเส้นขนออก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สามารถถอนขนได้ถึงรากขนแต่มีข้อเสียคือสามารถดึงออกได้ทีละเส้นและจะรู้สึกถึงความเจ็บอย่างมากในระหว่างที่ถอนอยู่ นอกจากนั้นหากทำการถอนเส้นขนบ่อยๆ จะทำให้รูขุมขนกว้างขึ้นจนเกิดปัญหาหนังไก่หรือผิวไม่เรียบเนียนได้

  • เหมาะกับขนส่วนไหน : ขนรักแร้, ขนคิ้ว
  • ราคา : 10-300 บาท

2. การโกนขน

เป็นอีกหนึ่งวิธีในการกำจัดขนแบบเร่งด่วนด้วยการใช้ใบมีดโกนขนเอาเส้นขน วิธีนี้จะไม่สามารถถอนรากขนออกมาได้ นอกจากนั้นแล้วหากทำการโกนขนบ่อยๆ จะไปกระตุ้นทำให้ผิวส่วนนั้นเกิดสีดำคล้ำขึ้นมาและยังทำให้เส้นขนใหม่มีลักษณะเส้นที่หนาแข็งมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดขนคุดได้ในอนาคตอีกด้วย แต่มีข้อดีคือราคาที่ถูกและสามารถทำได้เองที่บ้านง่ายๆ

  • เหมาะกับขนส่วนไหน : เหมาะกับการโกนขนทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะเป็น ขน, ขา, รักแร้, อวัยวะเพศ เป็นต้น
  • ราคา : 10-500 บาท

3. การแว็กซ์ขน

การแว๊กซ์ขน

วิธีการกำจัดขนด้วยการใช้ขี้ผึ้งในการเป็นตัวช่วยดึงเอาเส้นขนออก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เส้นขนหลุดออกมาทีเดียวหลายๆ เส้นและสามารถหลุดได้ถึงรากขน ซึ่งในปัจจุบันการแว็กซ์ขนนั้นมีหลายแบบทั้งแบบแผ่นแว็กซ์หรือเม็ดที่ต้องละลายในอุณหภูมิที่เหมาะสมก่อน และข้อเสียของวิธีนี้คือความรู้สึกตอนทำจะเจ็บมากเพราะจะต้องใช้แรงกระชากเอาเส้นขนออก และหากทำบ่อยๆ ก็จะส่งผลทำให้รูขุมขนกว้างและผิวไม่เรียบเนียนได้

  • เหมาะกับขนส่วนไหน : เหมาะกับทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะเป็นส่วนขา ส่วนแขน หน้าท้อง อวัยวะเพศ และขนรักแร้เป็นต้น
  • ราคา : 300-1,000 บาท

4. การเลเซอร์กำจัดขน

การเลเซอร์ขน

การเลเซอร์ขน คือวิธีการกำจัดเส้นขนด้วยพลังงงานแสงเลเซอร์ที่จะถูกยิงเข้าไปยังชั้นผิวเพื่อไปรบกวนการทำงานของต่อมรากขนทำให้เส้นขนค่อยๆ หลุดร่วงออกไป และทำให้เส้นขนใหม่เกิดขึ้นช้าลง และทำให้เส้นขนเส้นใหม่มีลักษณะที่บางและสีอ่อนลงอีกด้วย

  • เหมาะกับขนส่วนไหน : ทุกส่วนของร่างกายทั้งขนแขน ขนขา หน้าท้อง ใบหน้า รักแร้และอวัยวะเพศ
  • ราคา : 500-3,000 บาทต่อครั้ง

ซึ่งในปัจจุบันเครื่องเลเซอร์มีให้เลือกทั้งหมดหลายแบบด้วยกัน ดังนี้

เครื่องเลเซอร์ขนมีกี่แบบ

  • IPL กำจัดขน (Intense Pulsed Light) : มีความยาวคลื่น 515 – 1,200 นาโนเมตรเหมาะกับการกำจัดเส้นขนในระยะเติบโต แต่จะต้องใช้จำนวนครั้งในการทำที่มากกว่าถึง 5-10 ครั้งถึงจะเริ่มเห็นผลลัพธ์
  • Ruby laser : มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 694 นาโนเมตร เป็นเครื่องเลเซอร์ที่ไม่ค่อยนิยมในไทยเนื่องจากไม่เหมาะกับผู้ที่มีเส้นขนสีเข้มและหนา
  • Alexandrite laser : มีความยาวคลื่น 755 นาโนเมตร เป็นอีกหนึ่งเครื่องที่ไม่เหมาะกับเส้นขนสีเข้มแบบคนเอเชียเท่าไหร่ถึงนิยมอย่างมากที่ยุโรป
  • Long Pulse ND Yag Laser : มีความยาวคลื่นสูงสุดอยู่ที่ 1,064 นาโนเมตร เครื่องนี้สามารถใช้ได้กับทุกสีขนและสภาพขน นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวได้ดีอีกด้วย
  • Diode Laser : มีความยามคลื่นอยู่ที่ 800-810 นาโนเมตร มีความแม่นยำในการกำจัดขนไม่แพ้เครื่อง Long Pulse ND Yag แต่เครื่องนี้เหมาะกับการใช้กำจัดขนในพื้นที่ใหญ่หรือกว้างๆ

5.การใช้ครีมกำจัดขน

คือวิธีการกำจัดขนด้วยครีมที่จะช่วยทำให้เส้นขนขาดและหลุดออก ซึ่งวิธีจะคล้ายกับการโกนขนที่ไม่สามารถกำจัดเส้นขนได้ถึงรากขน และยังมีโอกาสทำให้เกิดปัญหาขนคุดอีกด้วย นอกจากนั้นสำหรับใครที่มีปัญหาผิวแพ้ง่ายอาจจะไม่เหมาะกับวิธีนี้

  • เหมาะกับขนส่วนไหน : เหมาะกับกำจัดขนขา ขนแขน ขนท้อง และขนรักแร้
  • ราคา : 300-1,000 บาท

ทำยังไงเพื่อไม่ให้เส้นขนขึ้นอีก

จริงแล้วแทบจะไม่มีวิธีไหนเลยที่สามารถทำให้เส้นขนไม่สามารถงอกขึ้นใหม่ได้อีก แต่จะมีวิธีการทำเลเซอร์ขนเท่านั้นที่จะช่วยยืดระยะเวลาของการงอกของเส้นขนใหม่ออกไปได้นานกว่าปกติ ซึ่งวิธีนี้จะต้องอาศัยการทำอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน 3-5 ครั้งและทำเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้งจะทำให้เส้นขนใหม่งอกช้ามากๆ จนรู้สึกเหมือนเส้นขนหายไปแบบถาวร

ข้อดีของการเลเซอร์ขน

เลือกกำจัดขนด้วยวิธีไหนดีที่สุด

ในส่วนของวิธีการกำจัดขนที่ดีที่สุดนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนแนะนำวิธีการทำเลเซอร์ขนเนื่องจากไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายและยังช่วยแก้ปัญหาผิวต่างๆ อย่างขนคุด ผิวหนังไก่ ผิวไม่เรียบเนียนได้ดีมากๆ อีกด้วย

การกำจัดขนรักแร้ด้วยเลเซอร์

สรุป

เส้นขนถือเป็นอีกหนึ่งอวัยวะของร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องผิวและอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ด้วยความที่ยุคสมัยใหม่ได้มีการกำหนดเทรนด์ขึ้นมาว่าการไม่มีขนนั้นย่อมสวยงามกว่าหลายๆ คนจึงเลือกที่จะกำจัดขนทิ้งไปด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถอน การโกน การแว็กซ์และการทำเลเซอร์ขนเป็นต้น

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง