สิวที่แก้มเกิดจากอะไร? เปิดสาเหตุเป็นแล้วไม่หายสัก มีวิธีรักษายังไงบ้าง

สิวที่แก้ม

ในยุคที่ต้องมีการใส่แมสเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อและฝุ่น PM 2.5 อาจทำให้หลายๆคนต้องเจอกับปัญหาสิวที่แก้ม ซึ่งเกิดขึ้นจากการเสียดสีระหว่างผิวและหน้ากากอนามัยจนระคายเคืองกลายเป็น หรือผิวอักเสบ สำหรับใครที่ยังหาทางออกจากปัญหานี้ไม่ได้ ในบทความนี้เรามีวิธีการป้องกัน และวิธีการรักษาสิวที่แก้มจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังมาแนะนำ พร้อมแชร์ข้อควรระวังในการรักษาสิวที่แก้มว่ามีอะไรบ้าง

สิวที่แก้ม

สิวที่แก้มเกิดจากอะไร

สิวที่แก้มโดยส่วนใหญ่มักจะมาจาก การอุดตันของน้ำมันที่อยู่ในรูขุมขน หรือการติดเชื้อใต้ผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
    ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) เป็นสาเหตุที่จะกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ที่ส่งผลทำให้เกิดไขมันอุดตันในรูขุมขนจนกลายเป็นสิวได้ โดยเฉพาะผู้หญิงใกล้มีประจำเดือน
  • ความมันบนผิวหนัง
    การต่อมไขมันใต้ผิวมีการผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป อาจทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน จนส่งผลให้เกิดสิวอักเสบและสิวอุดตันเม็ดเล็กๆที่แก้มตามมาได้
  • สิ่งสกปรกที่สัมผัสกับผิว
    เมื่อมีสิ่งสกปรกมาสัมผัสกับบริเวณแก้ม เช่น มือ ปลอกหมอน โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์แต่งหน้า จะทำให้เกิดการสระสมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวที่แก้มได้
  • การใช้เครื่องสำอาง
    สารเคมี น้ำหอม หรือส่วนประกอบบางชนิดในเครื่องสำอางอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว จนมีอาการการแพ้เครื่องสำอางหรือสกินแคร์ต่าง ๆ จนกลายเป็นสิวเห่อที่บริเวณแก้มได้
  • การดูแลผิวหน้าไม่ถูกต้อง
    การล้างหน้าที่ผิดวิธี รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว เช่นการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับผิวแห้งในผู้ที่มีผิวมันเป็นต้น
  • ลักษณะทางกรรมพันธุ์
    ในแต่ละคนอาจได้รับการสืบทอดการเป็นสิวมาจากกรรมพันธุ์ จากคนในครอบครัวมีต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันออกมาบนผิวมากเกินไปจนเกิดสิวอุดตันได้ง่าย

สิวที่แก้มมีกี่ประเภท

จริงๆแล้วสิวที่แก้มสามารถแยกออกเป็น 2 ชนิด คือ สิวอักเสบ และสิวที่ไม่อักเสบ ซึ่งสามารถแยกย่อยออกได้หลายประเภทมากๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรง ได้แก่

สิวที่แก้มมีกี่ประเภท
  • สิวอุดตันหัวเปิด (Blackheads) เป็นสิวอุดตันหัวเปิด ที่มีมีลักษณะเป็นสิวหัวดำแข็งๆ เป็นตุ่มขนาดเล็ก นูนขึ้นมาจากผิว สามารถเห็นหัวสิวได้จากภายนอก มีขนาดประมาณ 0.1-3 mm.
  • สิวอุดตันหัวปิด (Whiteheads) เป็นสิวอุดตันที่มีสีขาว ไม่สามารถมองเห็นหัวสิวได้จากภายนอก มีลักษณะเป็นสิวเม็ดเล็กๆ แต่เมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่าเป็นปุ่มนูนที่ทำให้ผิวไม่เรียบ
  • สิวเสี้ยน (Small Pimple) คือ เศษซากของเคราตินที่ถูกผสมผสานกับความมันบนใบหน้า แล้วเกิดเป็นการอุดตันในรูขุมขน สามารถพบเจอได้บ่อยในบริเวณจมูก คางและใต้ริมฝีปาก มีลักษณะคล้ายสิวอุดตันหัวดำ
  • สิวหัวหนอง (Pustule) คือสิวอักเสบประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน น้ำมัน แบคทีเรีย และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้เกิดการอักเสบเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่มีหนองอยู่ข้างใน เป็นจุดสีขาวเหลืองอยู่บริเวณหัว
  • สิวตุ่มแดง (Papule) เป็นสิวอักเสบที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส กด บีบ หรือ แกะ สิวจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียผสมกับการอุดตันของรูขุมขน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงและมีการอักเสบโดยรอบ
  • สิวเทียม สิวผด สิวหิน (Acne Aestivale) เป็นสิวอักเสบที่มีเห่อมากเวลาอากาศร้อน ไม่มีการอุดตันชัดเจน มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ แข็งๆ คล้ายผดกระจายอยู่ทั่วบริเวณแก้ม เกิดจากคราบเหงื่อ และสิ่งสกปรก
  • สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule) เป็นสิวอักเสบชนิดที่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลุกลามเข้าไปถึงชั้นลึกของผิวหนัง มีลักษณะจะเป็นตุ่มขนาดใหญ่
  • สิวหัวช้าง (Nodulocystic acne) คือสิวอักเสบชนิดรุนแรง เนื่องจากมีอาการอักเสบบริเวณกว้างลึกลงไปในชั้นผิว เกิดจากการที่ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous glands) ผลิตน้ำมันมากเกินไปจนเกิดการอุดตัน บวกกับเชื้อแบคทีเรีย P.acnes (Propionibacterium acnes) จึงเป็นตัวกระตุ้นทำให้สิวเกิดการอักเสบ ซึ่งสิหัวช้างเป็นสิวอักเสบที่จะมีหัวหรือไม่มีหัวก็ได้

วิธีรักษาสิวที่แก้ม ด้วยตัวเอง

การรักษาสิวที่แก้มด้วยตัวเองอาจจะไม่สามารถรักษาหายขาดได้ 100% หากขาดความเข้าใจและเลือกใช้วิธีที่ไม่เหมาะสม ซึ่งวิธีที่ขนไข้สามารถใช้รักษาสิวที่แก้ด้วยตัวเองได้แก่

1. ทายารักษาสิว

เป็นวิธีการรักษาขั้นพื้นฐานโดยการใช้ยาทารักษาสิวที่มีส่วนผสมช่วยลดการอุดตัน ลดการอักเสบและกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว เช่น

  • Benzoyl peroxide เป็นยาทารักษาสิว ที่มีสรรพคุณช่วยให้ผิวแห้งและต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่ตัวยาอาจส่งผลทำให้ผิวแห้งลอก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
  • Retinoids เป็นยากลุ่มอนุพันธ์กรดวิตามินเอ สามารถออกฤทธิ์ลดการอักเสบและการอุดตันของรูขุมขน แต่ตัวยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แห้ง แสบ คัน หรือระคายเคืองตามมา

2. การทานยารักษาสิว

เป็นการลดปริมาณไขมันจาก ต่อมไขมัน และช่วยเร่งให้การอักเสบหายเร็วขึ้น ซึ่งยาที่แพทย์นิยมใช้ได้แก่

  • ยาปฏิชีวนะ มีสรรพคุณออกฤทธิ์ช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียลง และลดการอักเสบของสิว
  • ยาปรับฮอร์โมน เช่นยาคุมกำเนิด จะช่วยปรับให้ปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลง ทำให้ต่อมไขมันถูกกระตุ้นได้น้อยจึงทำให้การเกิดสิวลดลง
  • ยา Isotretinoin เป็นยาที่จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน ช่วยลดการอักเสบ และกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว ซึ่งการทานยารักษาสิวทุกประเภทจะต้องได้รับคำปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา

3. การกดสิว

การกดสิว

เป็นอีกวิธีในการรักษาสิวอุดตัน ชนิดมีหัวและไม่มีหัวที่เกิดจากการเคราติน ร่วมกับมีการสะสมของซีบัมและแบคทีเรีย ด้วยการใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยเปิดหัวสิวและทำการกดเอาหัวสิวออกมา แต่วิธีนี้หากทำด้วยความไม่ชำนาญก็เสี่ยงต่อการทิ้งรอยจากสิวได้

4. การใช้แผ่นดูดสิว

ถือเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่หลายๆคนนิยม เพราะสารไฮโดรคอลลอยล์จะช่วยดูดซับของเหลวใต้ผิว ช่วยลดการอักเสบ ไม่ทำให้เกิดสิวซ้ำ ทำให้สิวอักเสบยุบเร็ว แห้งไวยิ่ง และช่วยปกป้องสิวจากสิ่งสกปรกต่างๆ ที่จะมารบกวนทำให้สิวมีอาการอักเสบที่มากกว่าเดิมได้

5. ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกลุ่มรักษาสิว

ในปัจจุบันการรักษาสิวนั้นไม่ได้สามารถทำได้แค่การทายารักษาสิวเท่านั้น ยังในกลุ่มของผลิตภัณฑ์สกินแคร์บางตัวก็มีส่วนผสมของสารต่างๆ ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดสิวและรักษาให้เม็ดสิวสามารถหายไวมากยิ่งขึ้นได้ ซึ่งก็จะเป็นกลุ่มสาร AHA,BHA, เรตินอลและกลุ่มสารที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ชั้นผิวอย่าง Niacinamide เป็นต้น

6. เลี่ยงการแต่งหน้า

เนื่องจากการแต่งหน้านั้นจะทำให้ผิวเกิดการอักเสบและลุกลามได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากตัวสารในเครื่องสำอางบางตัวที่จะมีส่วนผสมของพาราเบน น้ำหอม แอลกอฮอล์ซึ่งสารเหล่านี้จะไปทำให้สิวที่เป็นอักเสบหนักกว่าเดิม และยังอาจทำให้ผิวเกิดการอุดตันจนเกิดเป็นสิวเพิ่มมากขึ้น

7. การเปลี่ยนแมสหรือหน้ากากอนามัยบ่อยๆ

หน้ากากอนามัยที่เราใส่เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ กันอยู่นั้นอาจเป็นอีกหนึ่งจุดที่เกิดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ จนไปทำให้เกิดสิวที่แก้มได้ ดังนั้นในระหว่างวันควรทำการเปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อยๆ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียนั่นเอง

วิธีรักษาสิวที่แก้ม แบบเร่งด่วน

ผู้ที่มีปัญสิวทุกประเภทที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยตัวเอง สิวหายแล้วแต่กลับมาเป็นซ้ำ หรือต้องการรักษาปัญหาที่แก้มแบบเร่งด่วน สามารถเลือกวิธีการรักษาได้ดังนี้

1. เลเซอร์สิวที่แก้ม

เลเซอร์สิว คือการใช้แสงเลเซอร์ทำลายเชื้อ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P.acne แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน โดยเลเซอร์ที่นิยมใช้ในการรักษาสิว Co2 ที่ช่วยกำจัดไขมันที่อุดตันในรูขุมขนให้หลุดออกไป และลดโอกาสการเกิดรอยแผลเป็นจากสิว

2. การฉีดลดสิวที่แก้ม

ฉีดสิว คือ การฉีดยาคอร์ติโซน หรือยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Triamcinolone), การฉีดสเตียรอยด์ เข้าไปในสิวหรือใต้ผิวหนัง เพื่อลดการอักเสบ และทำให้สิวหายเร็วขึ้น

3. ฉีดมาเด้คอลลาเจน

ฉีดมาเด้คอลลาเจน

ฉีดมาเด้คอลลาเจน (made collagen) เป็นเมโสหน้าใสยี่ห้อยาฉีดของประเทศอิตาลี ที่จุดเด่นในด้านการดีท็อกซ์สารพิษที่ตกค้างบนผิว ช่วยเร่งการเผาผลาญและเร่งระบบไหลเวียนเลือดเพื่อให้ผิวหนังได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ และช่วยปรับสมดุลผิวช่วยให้ผิวแข็งแรงไม่เกิดสิวที่แก้ได้โดยง่าย

4. ฉีด Rejuran

ฉีด Rejuran

การฉีดรีจูรัน (Rejuran) เป็นการฟื้นฟูและซ่อมแซมผิวด้วย Polyneucleotide (PN) หรือ Salmon DNA ซึ่งมีดีเอ็นเอที่คล้ายกับมนุษย์ จึงสามารถซ่อมแซมเซลล์ผิวในระดับลึก เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ผิวเกิดการสร้างตัวใหม่ฟื้นฟูบาดแผล (Wound healing) และแก้ปัญหาผิวที่เสื่อมสภาพ (Aging Skin) ทำให้ผิวหน้ามีความชุ่มชื้น ฉ่ำวาว แลดูอ่อนเยาว์

5. ทำเลเซอร์หน้าใส

Dual yellow laser

เลเซอร์หน้าใส คือ นวัตกรรมการดูแลผิวหน้าอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ปล่อยพลังงานเลเซอร์ลงสู่ชั้นผิวเพื่อให้เซลล์ผิวเก่าผลัดได้เร็วขึ้น ซึ่ง Dual yellow laser ที่มีพลังงานแสง 2 ชนิด ได้แก่ แสงสีเหลือง ความยาวคลื่น 578 nm เหมาะสำหรับการรักษารอยโรคต่าง ๆ ที่มีสีแดง และแสงสีเขียว ความยาวคลื่น 511 nm แสงสีเขียวที่เหมาะสำหรับรักษารอยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสี ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสและแข็งแรงไม่เกิดสิวได้ง่าย

เป็นสิวที่แก้มนั้นอันตรายไหม

การเกิดสิวที่บริเวณแก้มนั้นไม่ได้มีความอันตรายใดๆ เลย เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการอุดตันและอักเสบของผิวเท่านั้น แต่ทั้งนี้การมีสิวที่แก้มก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถละเลยได้เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้เกิดรอยสิว หรือหลุมสิวตามมาได้

การดูแลและป้องกันไม่ให้มีสิวที่แก้ม

  • ล้างหน้าให้สะอาด การล้างหน้าให้สะอาดโดยใช้ คลีนเซอร์ และคลีนซิ่ง ในการช่วยทำความสะอาดผิวให้หมดจด เพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น ฝุ่นควัน ออกจากผิวหน้า
  • ทาครีมบำรุงผิวสูตรอ่อนโยน จะช่วยลดการระคายเคืองของผิวจากสารก่อการระคายเคือง อาการแพ้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผิว และช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้า เพราะการใช้มือสัมผัสใบหน้าอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียจากมือไปเกาะติดที่ผิวหน้า จนเกิดการระคายเคืองกลายเป็นสิวที่แก้ได้ ดังนั้นจึงควรระวังไม่ใช้มือจับหน้าหากไม่จำเป็น
  • เปลี่ยนปลอกหมอนบ่อยๆ เนื่องจากแบคทีเรียจากเหงื่อที่จะถูกสะสมในปลอกหมอน อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดผิวที่แก้ม ด้งนั้นการเปลี่ยนปลอกหมอนบ่อยๆจะช่วยลดการสะสมของสิ่งสกปรกและลดการเกิดสิวได้
  • เลือกแมสที่ละบายอากาศได้ดีการใส่แมสเป็นเวลานานๆก็อาจทำให้เกิดความอับชื้น จนเกิดสิวที่แก้มได้ ฉนั้นจึงควรเปลี่ยนแมสบ่อยๆและเลือกแมสที่มีการระบายอากาศได้ดีเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียที่ผิวในระหว่างวัน
  • หลีกเลี่ยงการยกโทรศัพท์มาแนบกับใบหน้า เพราะโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดสิวได้ เพราะเต็มไปด้วยแบคทีเรียหลายชนิด
  • ทำความสะอาดแปรงแต่งหน้า หรืออุปกรณ์การแต่งหน้าบ่อย ๆ เป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการสะสมเชื้อแบคทีเรียบนผิวหน้า
  • ควรแต่งหน้าบางๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ครีมรองพื้นเพื่อลดการอุดตันของเครื่องสำอาง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และลดความเครียด เพื่อช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้มีความสมดุล

สิวที่แก้มมีข้อควรระวังอะไรบ้าง ?

การเป็นสิวที่แก้มควรรีบทำการรักษาให้ถูกวิธี เพราะสิวแต่ละประเภท จะเหมาะกับวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันไม่ให้สิวอักเสบเรื้อรัง ลุกลามจนเกิดปัญหารอยแดง รอยดำ แผลเป็น และหลุมสิวที่รักษาได้ยาก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวที่แก้ม

เป็นสิวที่แก้มแต่งหน้าได้ไหม?

ในระหว่างการรักษาสิวที่แก้ม ควรงดแต่งหน้าเพราะส่วนประกอบในเครื่องสำอาง เช่นครีมรองพื้น หรือแป้งที่ผสมครีมรองพื้น อาจทำให้เกิดการอุดตันและระคายเคืองจนทำสิวอักเสบรุนแรงมากขึ้น

สิวที่แก้มบอกโรคอะไรได้บ้าง

การมีสิวขึ้นบริเวณแก้มแก้มส่วนล่างนั้น มักบ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่นคนไข้มีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือการคุยโทรศัพท์มากเกินไป รวมถึงการดูแลทำความสะอาดผิวหน้าที่ไม่สะอาดพอ

สิวที่แก้มรักษาให้หายขาดได้ไหม

สิวที่แก้มสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เพื่อฆ่าเชื้อสิวให้หายสนิท และซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสียหายให้กลับมาแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้การรักษาสิวที่แก้มยังควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันไม่ให้ทิ้งรอยหลังสิวหาย

สิวที่แก้รักษาไม่หายสักที เกิดจากอะไร

สิวที่แก้มบางชนิดแม้จะรักษาหายแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ เนื่องจากวิธีที่ใช้ยังเป็นวิธีที่ไม่ตอบโจทย์ของปัญหา สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวที่แก้มให้หายขาดและไม่กลับมาเป็นซ้ำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมมากที่สุด

เป็นสิวที่แก้มแล้วคัน

สำหรับใครที่มีอาการคันร่วมกันกับการเกิดสิวที่แก้มนั้น ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการอุดตันของผิวในช่วงที่มีสภาพอากาศที่ร้อนจึงทำให้รู้สึกคันระคายเคืองได้ วิธีรักษาคืองดการเกาเพราะจะทำให้สิวอักเสบมากกว่าเดิมร่วมกับการทายาแต้มสิว

สิวที่แก้มแบบไหนต้องพบแพทย์

สำหรับผู้ที่มีสิวอักเสบรุนแรงอย่างสิวหัวช้าง หรือสิวเห่อขึ้นเต็มหน้าทำให้หมดความมั่นใจ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพผิว ซึ่งจะช่วยทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สิวที่แก้มรักษาให้หายขาดได้ไหม

สิวที่แก้มสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เพื่อฆ่าเชื้อสิวให้หายสนิท และซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสียหายให้กลับมาแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้การรักษาสิวที่แก้มยังควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันไม่ให้ทิ้งรอยสิวหลังรักษา

รักษาสิวที่แก้ม ที่ไหนดี ?

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่แก้มอักเสบแบบรุนแรง แนะนำให้เลือกรักษากับคลินิกที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง และมีนวัตกรรมการรักษาสิวที่หลากหลายเพื่อให้ได้รับการรักษาปัญหาสิวอย่างตรงจุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคนไข้จะต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง และควรดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ร่วมกับการักษาเพื่อป้องกันการเกิดสิวซ้ำในจุดเดิม

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง