อาการแพ้ฟิลเลอร์ มีลักษณะอย่างไร พร้อมแนะนำวิธีสังเกต
การฉีดฟิลเลอร์ หรือสารกลุ่มไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic acid) ที่ผ่านมาตรฐานอย. ถือเป็นการเติมเต็มผิวที่มีความปลอดภัยมากพอสมควร แต่ก็ยังบางกลุ่มที่ร่างกายเกิดภาวะต่อนต้านจนเกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์ ซึ่งมักส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติหลังจากฉีดฟิลเลอร์ ตั้งแต่มีอาการบวมแดงเล็กน้อยไปจนถึงการอักเสบ ติดเชื้อ วันนี้หมอได้รวบรวมสาเหตุของการแพ้ฟิลเลอร์ และ ลักษณะที่บ่งบอกว่าคนไข้กำลังมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ ซึ่งจะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
อาการแพ้ฟิลเลอร์ คืออะไร
อาการแพ้ฟิลเลอร์ คือ ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดการต่อต้านสารฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไป จนก่อให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ทำให้มีอาการบวมแดง เป็นก้อน มีอาการปวดร้อน ตุ่มคัน หรือมีหนองในบริเวณที่ฉีด ซึ่งอาการแพ้ฟิลเลอร์สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
- Immediate hypersensitivity (ภาวะภูมิไว) หลังการฉีดฟิลเลอร์จะเริ่มมีอาการแพ้เกิดขึ้นใน 1-24 ชม.
- Delayed hypersensitivity หลังการฉีดฟิลเลอร์จะเริ่มมีอาการแพ้เกิดขึ้นใน 24-72 ชั่วโมง หรือคนไข้บางรายอาจเริ่มมีอาการหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านไปแล้วเป็นเดือน
หากหลังฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วพบว่ามีอาการเหล่านี้ แนะนำให้รีบพบหมอเพื่อทำการรักษา และรับยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อไปรับประทาน
สาเหตุของการแพ้ฟิลเลอร์ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
การแพ้ฟิลเลอร์ หรืออาการอักเสบติดเชื้อหลังการฉีดฟิลเลอร์สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ อาทิเช่น
การฉีดฟิลเลอร์ปลอม
เป็นสาเหตุที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์กับหมอเถื่อน หมอกระเป๋า เนื่องจาก Filler เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งซื้อต้องผ่านทางบริษัทยาโดยมีใบสั่งแพทย์ และใช้โดยแพทย์เท่านั้น อ่านเพิ่มเติมเกี่ยว จุดสังเกตฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร? ของแท้ดูยังไง
ฉีดด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง
บางคลินิกเสริมความงามที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำหัตถการโดยแพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์ ทำให้ไม่รู้เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ที่ถูกต้อง หรือมีขั้นตอนการฉีดที่ไม่สะอาดจึจนงจนส่งผลทำให้เกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์ได้
การดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์
เป็นอีกสาเหตุที่พบได้มาก ถึงแม้ว่าคนไข้จะมีการฉีดฟิลเลอร์โดยหมอที่มีประสบการณ์ แต่หากดูแลตัวเองไม่ถูกวิธี หรือไม่ ปฏิบัติตามที่หมอแนะนำ ก็ทำให้เกิดโอกาสที่จะแพ้ฟิลเลอร์ หรือฟิลเลอร์อักเสบได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้ฟิลเลอร์ มีวิธีสังเกตอย่างไรบ้าง?
การสังเกตอาการแพ้ฟิลเลอร์ ที่สามารถสังเกตได้เป็นอันดับแรกนั่นก็คือ บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อน มีอาการบวมขึ้นเรื่อยๆ กดแล้วเจ็บ รู้สึกร้อนบริเวณที่ฉีด และผิวแดงหรือคล้ำผิดปกติ
กลุ่มผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงและเสี่ยงต่อการแพ้ฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์ถึงแม้ว่าจะมีความปลอดภัย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดทำให้บุคคลบางกลุ่มไม่เหมาะสำหรับการฉีดฟิลเลอร์ดังนี้
- ผู้ที่มีอาการแพ้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด, คอลลาเจน และลิโดเคนไม่แนะนำให้ฉีดฟิลเลอร์เด็ดขาด
- สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร
- ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด ข้อต่อ และเส้นเอ็น ผิดปกติ
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเลือดหยุดไหลยากหรือโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
- ผู้เป็นโรคผิวหนังอักเสบหรือติดเชื้อ มีแผลฟกช้ำควรรักษาให้หายดีเสียก่อน
- ผู้ที่ต้องรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ASA, Warfarin, NSAIDS, Vitamin E, Gingko biloba เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคเริม หรืองูสวัด แนะนำให้หลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์เพราะอาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น
ลักษณะของอาการแพ้ฟิลเลอร์
ลักษณะการแพ้ฟิลเลอร์มีทั้งอาการที่พบได้โดยทั่วไป และอาการผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์ ดังนี้
อาการโดยปกติทั่วไป
- หลังการฉีดฟิลเลอร์จะมีอาการข้างเคียงที่สามารถพบได้บ่อย เช่น มีอาการบวม แดง นูน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ สามารถหายไปเองภายใน 2-3 วัน หรือในคนไข้บางรายอาจมีเป็นรอยช้ำจากเข็มนานถึง 1-2 สัปดาห์
อาการผิดปกติ - สำหรับผู้ที่พบว่าบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อนแข็ง มีอาการบวมแดง จับแล้วเจ็บ เป็นตุ่มใส หรือก้อนหนองบริเวณที่ฉีดถือเป็นอาการผิดปกติควรรีบพบหมอเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน
- สำหรับลักษณะอาการแพ้ฟิลเลอร์แต่ละจุดอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล
วิธีสังเกตอาการแพ้ฟิลเลอร์ มีอะไรบ้าง?
หลังการฉีดฟิลเลอร์ หากสงสัยว่ากำลังมีภาวะการแพ้ฟิลเลอร์หรือไม่ ให้สังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้
- บริเวณ์ที่ฉีดฟิลเลอร์มีลักษณะเป็นก้อน นูน แดงอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกจุดที่มีการฉีดฟิลเลอร์ เช่น แพ้ฟิลเลอร์ปาก แพ้ฟิลเลอร์ใต้ตา แพ้ฟิลเลอร์คางเป็นต้น เกิดขึ้นได้หลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านไปแล้วหลายเดือน
- บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มีลักษณะเป็นผื่น ลมพิษแบบรุนแรง (angioedema) ซึ่งในกรณีนี้จะพบได้น้อยมาก ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
- ฟิลเลอร์มีการเคลื่อนหรือไหลออกจากตำแหน่งที่ฉีดไปยังบริเวณใกล้เคียง
- หลังการฉีดมีอาการปวดบวม แดง ร้อน มีตุ่มใส และมีก้อนหนองบริเวณ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากขั้นตอนการฉีดไม่สะอาด หรือฉีดโดยผู้ที่ไม่รู้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้องอย่างหมอกระเป๋า
- บริเวณที่ฉีดมีลักษณะสีผิวเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้น หรือมีภาวะเนื้อตาย (necrosis) เนื่องจากมีการที่ฉีดฟิลเลอร์เข้าไปโดนบริเวณหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด
อาการฟิลเลอร์อักเสบต่างกับการแพ้ฟิลเลอร์ยังไง
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอาการแพ้ฟิลเลอร์และอาการฟิลเลอร์อักเสบนั้นเป็นคนละอย่างกัน
- อาการแพ้ฟิลเลอร์ การแพ้สารไฮยาลูรอนิค เอซิค ในตัวฟิลเลอร์จนทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้แม้จะฉีดด้วยฟิลเลอร์ของแท้ และฉีดโดยหมอที่มีประสบการณ์
- อาการฟิลเลอร์อักเสบ ไม่ใช่การแพ้ฟิลเลอร์แต่เป็นการอักเสบของผิวหลังจากที่ฉีดฟิลเลอร์ของปลอม หรือฉีดกับหมอเถื่อนทำให้กระบวนการฉีดไม่ถูกสุขลักษณะจนทำให้เกิดอาการอักเสบขึ้นได้นั่นเอง
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์ เบื้องต้นควรทำอย่างไร?
หลังการฉีดฟิลเลอร์แล้วพบว่าพบอาการที่บ่งบอกถึงอาการแฟ้ฟิลเลอร์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาเบื้องต้นด้วยการรับยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาฆ่าเชื้อ แต่หากอาการแพ้ยังไม่ทุเลาลงแพทย์จะทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ โดยจะสามารถสลายฟิลเลอร์ โดยใช้ Hyaluronic acid
อาการแพ้ฟิลเลอร์แบบไหน ที่ทำให้เกิดอันตราย และควรรีบพบแพทย์
สำหรับการแพ้ฟิลเลอร์รุนแรงที่ทำให้บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์และบริเวณใกล้เคียงเกิดความรู้สึกเจ็บปวด แสบร้อน บวมมากขึ้นเรื่อย ๆ ผิวแดง มีหนอง ซึ่งเป็นอาการที่อาจเกิดการติดเชื้อ ถือเป็นอาการที่อันตรายควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์ที่รุนแรงจนยากต่อการรักษา
สรุป
อาการแพ้ฟิลเลอร์สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช่ฟิลเลอร์ปลอม การฉีดฟิลเลอร์ด้วยขั้นตอนที่ไม่สะอาด การใช้เทคนิคไม่ถูกต้อง มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งกับผู้ที่ฉีดกับหมอกระเป๋า นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ต้องห้ามหลังการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งเป็นกระตุ้นกระบวนการอักเสบ
ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการอักเสบของฟิลเลอร์ ควรเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน ใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ของแท้ ฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์เพื่อให้แก้ไขปัญหาของคนไข้ได้อย่างตรงจุด และสามารถแก้ไขได้หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดฟิลเลอร์