แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid) คือ? เกิดจากอะไร? พร้อมรู้วิธีรักษาให้รอยนูนยุบลง

แผลเป็นคีลอยด์ Keloide คืออะไร

คงไม่มีใครต้องการมีรอยแผลเป็น โดยเฉพาะรอยแผลเป็นคีลอยด์ ที่จะทำให้ผิวนูนขึ้นมาดูไม่เรียบเนียน ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติของกระบวนการสร้างผิวใหม่เพื่อทดแทนผิวเก่าที่ถูกทำลายไป แต่เมื่อรอยแผลเป็นเกิดขึ้นแล้วก็ควรรีบที่จะหาทางแก้ไข เพื่อให้รอยแผลเป็นนั้นดูจางลงให้เร็วที่สุด ซึ่งในบทความนี้เราได้รวมรวมวิธีรักษารอยแผลเป็นคีลอยด์ที่ดีที่สุดไว้ให้คุณแล้ว แต่ก่อนจะไปดูว่ามีวิธีอะไรบ้าง ลองมาทำความเข้าใจก่อนว่าแท้จริงแล้วแผลเป็นคีลอยด์คืออะไร เพื่อจะได้เลือกวิธีรักษาและวิธีป้องกันได้อย่างถูกต้อง

รู้จักกับแผลเป็นคีลอยด์ คืออะไร?

แผลคีลอยด์

แผลเป็นคีลอยด์ จัดอยู่ในกลุ่มประเภทรอยแผลหรือแผลเป็นอีกหนึ่งชนิด ที่มีลักษณะเป็นรอยแผลแบบนูนและมีการขยายใหญ่ออกตามขอบเขตรอยบาดแผลเดิม จึงส่งผลทำให้รอยแผลมีสีที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น สีแดง,สีคล้ำ,หรือมีสีม่วงออกช้ำๆตรงบริเวณรอยแผล และส่วนใหญ่จะมีการเกิดอาการคัน หรือคนไข้บางรายอาจจะมีอาการเจ็บ และรู้สึกตึงๆรั้งๆตามรอยแผลร่วมด้วย ถึงแม้ว่ารอยแผลเป็นคีลอยด์จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆกับผิวหนังหรือร่างกายก็ตาม แต่ก็เสี่ยงที่รอยแผลเป็นจะมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมนั้นเอง

แผลเป็นคีลอยด์ เกิดจากอะไร?

แผลเป็นคีลอยด์ ส่วนใหญ่เกิดจากรอยแผลที่มีการผ่าตัดใหญ่ หรือเกิดอุบัติเหตุอย่างรุงแรง แผลไฟไหม้และรวมถึงแผลจากการเจาะตามร่างกาย ที่เป็นแผลขนาดลึก ทำให้เนื้อเยื่อของผิวหนังได้รับความเสียหายหนัก ส่งผลให้เนื้อเยื่อส่วนบนตรงชั้นผิวหนังเกิดขาดความสมดุลจึงผลิตคอลลาเจนขึ้นมาเพื่อรักษาบาดแผลมากเกินไป ทำให้เกิดก้อนเนื้อนูนขึ้นมาจากผิวหนังปกติ และจะมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆหากไม่รีบทำการรักษา นอกจากนี้ยังสามารถพบว่าแผลคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะบริเวณหน้าอกที่ไม่เคยได้รับบาดเจ็บหรือมีแผลบริเวณนั้นมาก่อน

คีลอยด์เกิดจาก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลคีลอยด์

ในการเกิดแผลคีลอยด์นั้นต่างก็มีปัจจัยที่เป็นตัวการสำคัญที่คอยกระตุ้นอยู่ ซึ่งปัจจัยต่างๆ นั้นประกอบไปด้วย

  1. เชื้อชาติ : ซึ่งได้มีการสำรวจแล้วว่าแผลคีลอยด์นั้นสามารถพบได้ในกลุ่มคนคนผิวสีมากกว่ากลุ่มคนผิวขาว
  2. พันธุกรรม : ประวัติการเกิดแผลคีลอยด์ในครอบครัวนั้นก็ถือเป็นจุดที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเรามีโอกาสเกิดแผลคีลอยด์ได้ง่ายกว่าปกติหรือไม่
  3. จุดตำแหน่งของแผล : ซึ่งในจุดบางบริเวณนั้นสามารถเกิดแผลคีลอยด์ได้ง่ายกว่าปกติ เช่นจุดที่มีการตึงรั้งเช่น หัวไหล่ หน้าอก ใบหู เป็นต้น

จุดที่มักเป็นแผลเป็นคีลอยด์

ตำแหน่งที่มักเป็นแผลเป็นคีลอยด์ ซึ่งบริเวณที่พบบ่อยจะเป็นบริเวณที่ผิวหนังส่วนนั้นมีอาการตึงมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดรอยแผลคีลอยด์สูงกว่าผิวหนังปกติทั่วไป หรือบริเวณตามข้อพับต่างๆของร่างกายเช่น

  • บริเวณหัวไหล่จากอุบัติเหตุซึ่งทำให้เกิดรอยแผลลึก
  • บริเวณกลางหน้าอก ในบางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • บริเวณหลังส่วนด้านบน ที่มีการบีบสิวบ่อยๆ
  • บริเวณติ่งหูหรือบริเวณใบหู ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการเจาะหูเพื่อความสวยงาม
  • บริเวณใบหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดศัลยกรรม
  • บริเวณหน้าท้องที่เกิดจากการผ่าตัดไส้ติ่ง หรือการผ่าคลอด

แผลคีลอยด์อันตรายไหม

การเป็นแผลคีลอยด์นั้นทางการแพทย์ไม่ได้มีความอันตรายใดๆ เลย เพราะการเกิดแผลคีลอยด์เกิดจากการผิดปกติของการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนแต่ความผิดปกตินั้นไม่ส่งผลต่อความอันตรายต่อสุขภาพ เพียงแค่จะสร้างความไม่มั่นใจแก่ผู้เป็นเท่านั้น

วิธีรักษาแผลเป็นคีลอยด์

รักษาแผลคีลอยด์ด้วยวิธีไหนดี

สำหรับใครที่มองว่าการรักษารอยแผลเป็นด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่ยาก และต้องใช้เวลานานจึงจะเห็นผล หรือในบางครั้งอาจจจะไม่เป็นการรักษานั้น สามารถเลือกรักษาแผลเป็นคีลอยด์แบบเร่งด่วนด้วยวิธีทางการแพทย์ได้ดังนี้

1. ครีมทาคีลอยด์

คีลอยด์ทายาหายไหม

รอยแผลเป็นคีลอยด์ ถือเป็นรอยแผลที่รักษาได้ยากด้วยการทายา เพราะมีลักษณะนูนและแข็งทำให้อาจจะต้องใช้เวลานาน โดยยาที่แนะนำในการทานรักษารอยแผลเป็นชนิดนี้ได้แก่ ตัวยาที่มีส่วนประกอบของ (Silicone gel )เพื่อช่วยให้รอยแผลมีความชุ่มชื้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อกระบวนการสร้างเซลล์ผิว นอกจากนี้การเลือกตัวยาที่มีสารสกัดจากหัวหอม (Allium cepa) ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ลดอาการอักเสบ ช่วยเสริมสร้างกระบวนการซ่อมแซม และกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนใต้ผิวหนังให้ทำงานได้ดีขึ้น แต่จะต้องทาอย่างสม่ำเสมอและใช้ระยะเวลานานกว่าจะเริ่มเห็นผล หรือสำหรับบางคนก็อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจไว้

2. การฉีดลดคีลอยด์

ฉีดลดแผลเป็นคีลอยด์

การฉีดลดคีลอยด์โดยการใช้ตัวยาที่อยู่ในกลุ่มคอร์ติโซนสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นวิธีในการรักษาที่ปลอดภัยและไม่เจ็บปวดมากนัก โดยแพทย์จะฉีดสเตียรอยด์ชนิดนี้เข้าไปที่รอยแผลเป็นให้คนไข้ในทุกๆช่วงเวลา 4-8 สัปดาห์ เพื่อช่วยทำให้รอยคีลอยด์เกิดการยุบตัวลง แต่อาจจะมีผลข้างเคียงที่ทำให้รอยแผลเป็นมีสีแดงขึ้นได้อย่างชัดเจนเพราะ เนื่องจากตัวยาสเตียรอยด์ชนิดนี้จะไปช่วยกระตุ้นให้ตรงบริเวณดังกล่าว เกิดการสร้างหลอดเลือดแดงใกล้ตรงชั้นผิวหนังมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ อาจจะสามารถช่วยให้รอยแผลเป็นดูดีขึ้นได้มากกว่าเดิมและก็ยังสามารถเห็นความผิดปกติ ถ้าหากเมื่อเปรียบเทียบกับผิวหนังตรงบริเวณรอบข้างได้เป็นอยู่ดี ซึ่งวิธีนี้จะมีราคาเริ่มต้นที่ 500-1,300 บาท

3. ผ่าตัดรักษาแผลคีลอยด์

การผ่าตัดแผลคีลอยด์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาคีลอยด์ โดยการผ่าตัดเพื่อเอาผิวหนังตรงบริเวณที่เป็นรอยแผลคีลอยด์ออกไปแล้วเย็บแผลใหม่อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีการในการผ่าตัดนี้ก็ถือเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูง เพราะจะไปกระตุ้นให้รอยแผลเป็นเกิดใหญ่ขึ้นและนูนขึ้นมากกว่าเดิม เพราะฉะนั้นแพทย์จึงมักใช้วิธีอื่นร่วมในการรักษาแผลหลังการผ่าตัดด้วย อย่างเช่น การใช้แผ่นเจลซิลิโคนปิดบนรอยแผลทิ้งไว้วันละ 12-24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการรักษาไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นคีลอยด์เกิดขึ้น นอกจากนี้ในการผ่าตัดแพทย์จะการผ่าตัดโดยใช้เข็มให้น้อยที่สุดเพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิดรอยแผลเป็นใหม่ในอนาคต ซึ่งวิธีนี้จะมีราคาเริ่มต้นที่ 4,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยแผลเป็น)

4. จี้ด้วยความเย็น (Cryosurgery)

รักษาคีลอยด์ด้วยความเย็น

การจี้ด้วยความเย็น (Cryosurgery) เป็นการช่วยทำลายแผลคีลอยด์โดยการทำให้ตรงบริเวณนั้นเย็นจนเป็นน้ำ ซึ่ง (Cryosurgery) สามารถส่งผ่านไปทุกส่วนในร่างกายได้เพื่อช่วยกำจัดเซลล์ที่มีความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงแผลเป็นคีลอยด์ที่มีการขยายตัวออกจากรอยแผลเดิมด้วย ซึ่งการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ด้วยการจี้ความเย็น หรือ Cryosurgery จะมีการใช้ไนโตรเจนเหลวที่มีความเย็นจัดอุณหภูมิ – 196 C ทำให้อุณหภูมิของผิวหนังลดลงอย่างรวดเร็วจนเกิดผลึกน้ำเเข็ง จากนั้นแพทย์จะปล่อยให้ผิวอุ่นขึ้นจึงส่งผลให้เนื้อเยื่อตายลง จึงนิยมนำวิธีนี้มารักษาแผลเป็นคีลอยด์นั่นเอง ซึ่งวิธีนี้จะมีราคาเริ่มต้นที่ 1,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยแผลเป็น)

5. เลเซอร์คีลอยด์

เลเซอร์ลบรอยแผลเป็นคีลอยด์

การรักษาคีลอยด์ด้วยเลเซอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยี Picoway Laser ที่มีระบบการทำงาน PicoWay RESOLVE / Fractional PicoWay ซึ่งเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ เพราะการใช้ลำแสงจากเลเซอร์ที่มีความยาวของช่วงคลื่นที่มีผลต่อหลอดเลือดโดยตรง ซึ่งเครื่องเลเซอร์ที่ใช้จะมีความยาวช่วงคลื่น 1,064mn. เป็นความยาวคลื่นที่สามารถทำให้ลำแสงจะเข้าไปสู่ใต้ผิวหนังได้ในชั้นลึกขึ้น จึงส่งผลต่อการเรียงตัวของเซลล์และคอลลาเจนใต้ผิวให้ดีขึ้นได้ จึงช่วยให้รอยแผลเป็นที่มีลักษณะนูนให้เรียบแบนและมีสีแดงที่น้อยลงได้ ซึ่งหลักการทำงานของการเลเซอร์แผลเป็นคีลอยด์จะมีความเฉพาะเจาะจง แม่นยำสูง และมีความอ่อนโยนต่อผิว จึงเป็นการรักษารอยแผลเป็นคีลอยด์ที่ปลอดภัยและไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเลย ซึ่งวิธีนี้จะมีราคาเริ่มต้นที่ 790 บาท

6. ใช้แผ่นซิลิโคนแปะรักษาคีลอยด์

ซิลิโคนแปะรักษาคีลอยด์

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยตัวแผ่นแปะนั้นคือแผ่นซิลิโคนเกรดทางการแพทย์ (Medical grade silicone) โดยตัวแผ่นแปะจะมีส่วนเข้าไปช่วยกดทับแผลไม่ให้เกิดนูนออกเป็นแผลคีลอยด์ได้ แต่วิธีนี้เหมาะกับรอยแผลใหม่ๆ มากกว่ารอยแผลที่เป็นมานาน

แผลเป็นคีลอยด์ อันตรายไหม

โดยปกติแล้วแผลเป็นคีลอยด์มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อร่างกายไม่จำเป็นต้องมีการรักษา (หากมีรอยแผลเป็นคีลอยด์แค่เล็กน้อย) แต่ในบางครั้งรอยแผลเป็นก็มีโอการที่จะพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นจากรอยแผลเดิมได้ ซึ่งถ้าหากมีอาการเจ็บหรือคันที่บริเวณรอยแผลเป็นคีลอยด์ ทำให้รู้สึกไม่โอเค ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธีได้

แผลคีลอยด์จะใหญ่ขึ้นไหม

แผลคีลอยด์จะใหญ่ขึ้นไหม

แผลเป็นคีลอยด์เป็นรอยแผลที่มีความแตกต่างจากแผลเป็นชนิดอื่นๆตรงที่ รอยแผลเป็นจะมีลักษณะนูนมากกว่าและสามารถขยายใหญ่ขึ้นเกินกว่าขอบของรอยแผลเดิม อย่างเช่น หากมีรอยแผลจากการโดนมีดบาด และมีขนาดของรอยแผลอยู่ที่ 1.5 ซม. หากมีเป็นแผลเป็นธรรมดาทั่วไปรอยแผลก็จะเกิดรอยแผลนูนตรงที่บริเวณที่มีรอยบาดแค่ 1.5 ซม.เท่านั้น แต่สำหรับรอยแผลคีลอยด์ แผลเป็นนั่นจะมีลักษณะนูนใหญ่ขึ้นจนมีขนาดใหญ่เกินกว่ารอยแผลเดิม และหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ทำการรักษาก็อาจจะมีการขยายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ จนทำการรักษาในอนาคตเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น

การดูแลรักษาแผลเป็นคีลอยด์ด้วยตนเอง

การดูแลรักษาแผลคีลอยด์ด้วยตัวเอง

หากเกิดรอยแผลเป็นคีลอยด์แนะนำให้รอแผลแห้งสนิทก่อน จากนั้นสามารถรักษาด้วยตัวเองได้ด้วยวิธีต่างๆดังต่อไปนี้

  • ควรหมั่นทายารักษารอยแผลเป็นที่มีส่วนผสมของ Cepalin ที่ช่วยยับยั้งการอักเสบ หรือยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาที่มีวิตามิน A วิตามิน E, Allantoin, MPS เพื่อให้แผลเป็นนุ่มลงและมีสีที่จางลง
  • ใช้ Silicone gel ในรูปแบบแผ่นปิดแผลปิดทับที่แผล เพื่อช่วยกดทับไม่ให้แผลมีการยืดขยายตัว และช่วยรักษาคีลอยด์ให้รอยแผลยุบตัว และดูจางลง
  • ควรดูแลรักษาความสะอาดรอยแผลอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้รอยแผลเป็นอักเสบหรือมีการตัดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้รอยแผลเป็นลุกลามได้
  • ควรดูแลสุขภาพของตัวเอง โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยนช์ หลีกเลี่ยงอาหารแสลงเพื่อลดอาการอับเสบ
  • ไม่ควรมีการเจาะหรือสักในระหว่างตรงบริเวณรอยแผลคีลอยด์เด็ดขาด
  • ควรหลีกเลี่ยงการในบีบ กด เกา ในแผลเป็นคีลอยด์
  • ควรหลีกเลี่ยงการทำศัลยกรรมความงามต่างๆตรงบริเวณแผลคีลอยด์ เพื่อไม่ทำให้รอยแผลคีลอยด์เกิดการขยายตัวได้ขึ้น
  • ควรงดสูบบุหรี่หรืองดดื่มแฮลกอฮอล์ในทุกช่วงที่กำลังรักษารอยแผลคีลอยด์ด้วย
  • พยายามหลีกเลี่ยงการใชสารเคมีที่บริเวณรอยแผล เพื่อป้องกันอาการแพ้ หรืออาการอักเสบที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากผิวที่บริเวณรอยแผลเป็นจะมีความบอบบางมากกว่าผิวหนังปกติ

ทำไมต้องทำเลเซอร์รักษาแปลเป็นคีลอยด์ที่กังนัม

  • คลินิกเลือกใช้นวัตกรรม Picoway Laser ที่ได้รับรางวัล The World’s Best Picosecond Laser ” จากการเปรียบเทียบกับ pico laser ทั่วโลก จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษามากเพื่อช่วยให้เห็นผลลัพธ์ได้ดีขึ้นตามที่ต้องการ
  • คลินิกมีการทำหัตถการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญด้วยตัวเองทุกเคส และที่กังนัมคลินิกจะมีแพทญ์ประจำอยู่ทุกสาขา เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของผู้เข้าใช้บริการ
  • คลินิกใช้เครื่องมือที่สะอาด ปลอดภัย และได้รับการตรวจสอบจากอ.ย.แล้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีความปลอดภัยสูง
  • คลินิกมีมาตรฐานสากลที่เปิดให้บริการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบได้
  • กังนัมคลินิกให้บริการที่มีมาตรฐานในทุกสาขา จึงทำให้เราได้รับความเชื่อถือและให้ความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการ ทำให้มีรีวิวมากมายจากผู้ใช้บริการจริง
  • คลินิกมีการแจ้งราคาให้กับผู้เข้ารับบริการอย่างชัดเจน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และเน้นการรักษาที่เห็นผลมากกว่าการขายคอร์สแพงๆ
  • คลินิกมีมากกว่า 17 สาขาทั่วกรุงเทพ ทั้งสาขาที่ติดกับรถไฟฟ้า BTS และ MRT ที่มีสาขาอยู่ในห้างเพื่อความสะดวกในการเลือกเข้ารับบริการ
  • ภายในคลินิกเน้นความสะอาดเพื่อช่วยลดการติดเชื่อและเครื่องมือทุกชิ้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อน-หลังการใช้งาน

สรุป

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์ด้วยเทคโนโลยี Picoway Laser ด้วยโหมดพลังงาน PicoWay RESOLVE / Fractional PicoWay จะมีการปล่อยพลังงานในระดับ picosecond เพื่อแก้ไขปัญหาเป็นจุด ๆ ที่ให้พลังงานสม่ำเสมอ และด้วยเทคโนโลยีพิเศษ Holographic Fractional Handpiece จาก PicoWay Resolve ทำให้จุดเลเซอร์มีความแม่นยำ สามารถแก้ไขปัญหารอยแผลเป็นคีย์รอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง